จันดี (อินโดนีเซีย)
จันดี (อินโดนีเซีย)

จันดี (อินโดนีเซีย)

จันดี (candi) เป็นศัพท์กว้าง ๆ ที่แปลว่าศาสนสถานซึ่งอาจหมายถึงโบสถ์พราหมณ์ หรือพุทธศาสนสถานในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งสร้างขึ้นในยุค ฮินดู-พุทธ แบบซามัน (Zaman Hindu-Buddha) กล่าวคือยุคที่มีการปฏิบัติร่วมกันของทั้งสองศาสนาในอินโดนีเซีย ราวศตวรรษที่ 4 ถึง 15[1]ในพจนานุกรมหลักภาษาอินโดนีเซีย (The Great Dictionary of the Indonesian Language of the Language Center) ได้ระบุ จันดี ว่าหมายถึงศาสนสถานสร้างด้วยศิลา หรือบ้างใช้ในการบรรจุอัฐิของนักบวชและกษัตริย์ผู้ล่วงลับ[2][3] อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วคำว่า จันดี ก็ใช้เรียกโครงสร้างโบราณอื่น ๆ ทางฆารวาศ เช่น ประตู ซากอารยธรรทจำพวกบ้านเรือน โรงอาบน้ำ เช่นกัน ส่วนจันดีสำหรับใช้เป็นสุสานจะมีชื่อเรียกเฉพาะไปอีกว่า จุงกุป (cungkup)[1]นอกจากนี้คำว่า "จันดี" เป็นศัพท์เฉพาะทางสำหรับสถาปัตยกรรมบาหลีแบบฮินดู หมายถึงโครงสร้างศิลาหรืออิฐที่เป็นลักษณะศาลเจ้าห้องเดียว มีเทอเรซ ทางเข้า บันไดทางเข้า หลังคาทรงพีระมิดอล อยู่ภายในโบสถ์พราหมณ์แบบบาหลี[4]ในมุมมองของพุทธศาสนาแบบอินโดนีเซียแบบร่วมสมัย จันดี อาจะหมายถึงศาลเจ้า ทั้งเก่าและใหม่ รวมไปถึงวิหารที่สร้างจำลองพุทธศาสนสถานโบราณที่มีชื่อเสียง เช่น บุโรพุทโธ หรือปาวน[5]ในภาษาอินโดนีเซียปัจจุบัน คำว่า "จันดี" แปลว่า "วัด" หรือ "โบสถ์" สำหรับพุทธและฮินดู ทั้งในและนอกประเทศ ทั้งเก่าและที่สร้างขึ้นใหม่ โดยรวมแล้วใช้งานเหมือนคำว่า "วัด" ในภาษาไทย ภาษาลาว และภาษาเขมร